ความหมายและความสำคัญ
ความหมาย คือ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายในท้องภายหลังการรับประทานอาหาร บางคนเรียกว่า "โรคกระเพาะอาหาร" ความสำคัญ คือ คนมีอาการเช่นนี้กันมาก ต้องแยกให้ออกว่า กรณีใดอาจเป็นโรคที่มีอันตราย กรณีใดไม่เป็น
สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ยา อาหาร โรค อื่นๆ รายละเอียดของแต่ละรายการจะกล่าวไว้ในหัวข้อเรื่อง การรักษาและป้องกัน
อาการของโรค
อาการหลักคือ ความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายในท้องภายหลังการรับประทานอาหาร ในทางการแพทย์ อาการอึดอัด หรือแสบท้อง ร้อนในท้อง นับเป็น "อาการปวดท้อง" แบบหนึ่ง เพียงแต่อาการไม่รุนแรงนัก คนจึงไม่เรียกว่า เจ็บหรือปวด
อาการอื่นที่เกิดร่วมด้วย ได้แก่ เรอบ่อย ผายลมบ่อย ท้องใหญ่ขึ้น ลักษณะเด่นของผู้เป็นโรคนี้ได้แก่ ไม่มีอาการทางกายอื่นๆ กล่าวคือ รับประทานอาหารได้ตามปกติ น้ำหนักไม่ลด ส่วนมากมักอ้วนไป นอกจากจะรู้สึกอึดอัดในท้องแล้ว บางคนแม้รู้สึกว่าท้องใหญ่ขึ้นแต่ก็ยุบได้ คนที่มีอาการเรอบ่อย เมื่อเรอแล้วจะสบายขึ้นชั่วคราว คนที่มีอาการผายลมบ่อยเมื่อผายลมแล้วท้องก็ยุบ ส่วนมากเมื่อตื่นนอนเช้ายังสบายดี หลังอาหารเข้าหรือเมื่อเริ่มทำงาน จึงเริ่มอืดอัดในท้อง เป็นอยู่นานหลายชั่วโมง แต่ถ้าทำงานเพลิน หรือยุ่งอยู่กับงานอาจลืมไปว่ามีอาการ
กรณีที่เป็นห่วงว่าจะมีโรคร้าย หรือมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด ถ่ายอุจจาระผิดไปจากเดิม เหนื่อย เพลีย ซีด มีไข้ เป็นต้น ควรหาแพทย์เพื่อหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุ เนื่องจากบางคนอาจมีโรคอื่น เช่น คนที่ท้องอืดและเหนื่อยหลังอาหารอาจเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
การรักษาและป้องกัน
กรณีที่มีอาการมาไม่นาน หรือหลายๆเดือนมีอาการครั้ง รับประทานอาหารได้ดีหรือเหมือนเดิม และไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย ให้สำรวจหาสาเหตุง่ายๆต่อไปนี้ การใช้ยา ยาที่ใช้รักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคปวดหลังปวดข้อ อาจทำให้เกิดอาหารท้องอืดได้ (ถ้าอาการมากจึงปวดท้อง ดูเรื่องกระเพาะอาหารอักเสบ) เมื่อเลิกใช้ยาอาการจะหายไปภายในหนึ่งหรือสองวัน ยาปฏิชีวนะบางชนิดก็มีผลทำนองเดียวกัน ไม่ใช่การแพ้ยา แต่เป็นผลข้างเคียง เมื่อรับประทานยาครบแล้ว อาการก็จะหายไปภายในหนึ่งถึงสองวัน บางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ อาจมีโรคประจำตัวพร้อมกันหลายโรค เช่น โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ต้องรับประทานยาหลังอาหารหลายเม็ด ทำให้ต้องดื่มน้ำมากหลังอาหาร หากเลื่อนเวลารับประทานยาหลังอาหารออกไป เป็นเวลาหลังอิ่มอาหารแล้วอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง อาการท้องอืดอาจดีขึ้น โปรดทราบว่าหลังอาหารจะมีอาหารอยู่ในกระเพาะไม่น้อยกว่า 2-3 ชั่วโมง จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่ากระเพาะจะว่าง บางคนมีอาการท้องผูกแบบหลายวันถ่ายครั้ง พยายามรักษาอาการท้องผูกด้วยการดื่มน้ำมากๆ และรับประทานผักและผลไม้มากๆ นอกจากไม่ทำให้ท้องผูกดีขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดอาการท้องอืดจากการรับประทานมากเกินไปได้ด้วย ถ้าเรื่องนี้เป็นสาเหตุเมื่อเลิกพฤติกรรมนี้ได้ อาการก็จะหายไปภายใน 2-3 วัน การรับประทานอาหารมื้อใหญ่เกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันสูง รีบร้อนในการรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารเลยเวลาที่เคยทำให้หิวมากหรือหายหิวแล้ว จะทำให้เกิดอาการท้องอืดหลังอาหาร หากแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ อาการก็จะหายไป หรือดีขึ้นมากน้อยแล้วแต่จะแก้ไขได้เพียงใด หากสำรวจและแก้ไขตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่อาจมีอยู่ แต่เมื่อแพทย์ตรวจแล้วไม่พบว่ามีโรค ก็ควรจะยุติ และหาทางแก้ไขดังต่อไปดังนี้
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น