โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน
โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด
Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต
อาการของโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น
อาการซึมเศร้า depression
1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
2. การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
3. การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
4. การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง
อาการ Mania
มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
หงุดหงิดง่าย
นอนน้อยลง
หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
พูดมาก
มีความคิดชอบแข่งขัน
ความต้องการทางเพศเพิ่ม
มีพลังงานมาก
ตัดสินใจไม่ดี
มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
1. พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด
2. มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน (โดยเฉพาะสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน)
3. ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
4. โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า
5. มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
6. ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรงซึมเศร้า
7. ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ
8. ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น
โรคซึมเศร้าในผู้หญิง
ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่าเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากความเครียดที่ต้องรับผิดชอบทั้งในบ้านและงานนอกบ้าน การรักษาให้ญาติเข้าใจภาวะของผู้ป่วยและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย
โรคซึมเศร้าในผู้ชาย
แม้ว่าโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะพบน้อยกว่าผู้หญิงแต่อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงกว่าผู้หญิง โรคซึมเศร้าในผู้ชายจะเกิดโรคทางกายพบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจจะสูงมาก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้ยาเสพติดและสุราเป็นตัวแก้ไข บางคนก็มุ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกสิ้นหวังหรือท้อแท้แต่จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคนี้ แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยก็มักจะปฏิเสธการรักษา
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย นอกจากนั้นอาการต่างๆอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรค หากสามารถวิเคราะห์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริงและให้การรักษาจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข
โรคซึมเศร้าในเด็ก
เด็กๆก็เป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกับผู้ใหญ่โดยจะมีอาการ แกล้งป่าย ไม่ไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ กังวลว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต ส่วนเด็กโตจะนิ่งไม่พูด มีปัญหาที่โรงเรียน มองโลกในแง่ร้าย แต่เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กมีความผันผวนดังนั้นการวินิจฉัยจึงยาก หากพ่อแม่หรือคุณครูพบว่าพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป กุมารแพทย์จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการรักษา
การวินิจฉัย
แพทย์ทั่วไปจะตรวจร่างกายเพื่อจะหาสาเหตุทางกาย เช่นโรคติดเชื้อไวรัส หรือยาที่ผู้ป่วยรับประทาน ประวัติการดื่มสุรา ยาเสพติด ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หากสงสัยว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าจิตแพทย์ก็จะประเมินสภาวะจิตใจของผู้ป่วย
การรักษา
1. การช้อคไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยา๖นโทมนัส หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
2. การใช้ยาต้านโทมนัส ยาที่ใช้รักษามีด้วยกันหลายกลุ่มได้แก่
selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
tricyclics
monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้จะต้องระวังอาหารที่มีส่วนผสมของ tyramine ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง อาหารดังกล่าวได้แก่ cheeses, wines, pickles, ยาลดน้ำมูก
แพทย์อาจจะเลือกใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือใช้ยาหลายชนิดรวมกัน โดยมากจะเริ่มเห็นผลใน 2-3 สัปดาห์และให้รับประทานต่อไปประมาณ 1 เดือนยาจะออกฤทธิ์เต็มที่เมื่อรับยาไปแล้ว 8 สัปดาห์ ช่วงแรกของการรับประทานยาอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาก่อนจะเห็นผลดีให้รับประทานต่อ เมื่ออาการดีขึ้นอย่าเพิ่งหยุดยาจนกระทั่งไปทำงานได้โดยจะต้องรับประทาน 4-9 เดือน โดยแพทย์จะค่อยๆหยุดยาเพื่อให้ร่างกายปรับตัว
ผลข้างเคียงของยา
ผลข้างเคียงพบได้ไม่รุนแรงหายเองได้ แต่หากเกิดผลข้างเคียงที่รบกวนคุณภาพชีวิตให้ปรึกษาแพทย์ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ
ปากแห้ง แก้โดยการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดื่มน้ำมากๆ
ท้องผูก แก้โดยการรับประทานผลไม้ให้มาก
ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะลำบาก
ตามัว
เวียนศีรษะ
ง่วงนอน
ผลข้างเคียงของยากลุ่มใหม่
ปวดศีรษะ อาการนี้จะหายไปเอง
คลื่นไส้อาเจียนซึ่งเป็นชั่วคราว
นอนไม่หลับและหงุดหงิด
ปัญหาทางเพศสัมพันธ์
กระวนกระวาย
การดูแลตัวเอง
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะท้อถอย สิ้นหวัง ไม่มีค่า ทำให้ผู้ป่วยยอมแพ้ โปรดจำไว้ว่าความรู้สึกและความจริงไม่เหมือนกัน
1. ให้ดำเนินชีวิตตามตารางงาน
2. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
3. ให้ค่อยๆเพิ่มรับผิดชอบงานที่ได้รับ
4. ตั้งเป้าหมายให้สามารถทำได้ อย่าให้เกินความสามารถของตัวเอง
5. อย่าทำงานใหญ่เกินตัว แบ่งงานเป็นโครงการเล็กๆ ให้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงาน
6. ให้มีสังคมกับผู้อื่นเพราะการอยู่คนเดียวจะทำให้อาการเป็นมากขึ้น
7. ให้มีกิจกรรมที่ชอบเช่น การเล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง อารมณ์จะค่อยๆดีขึ้นอย่างช้าๆหลังการรักษา
8. หากจะต้องมีการตัดสินใจสำคัญ เช่น การแต่งงาน การเปลี่ยนงาน ให้เลื่อนไปก่อนจนกระทั่งอาการซึมเศร้าดีขึ้น
9. นอนพักอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
10. ก่อนรับประทานยาใหญ่ให้ปรึกษากับแพทย์ถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
ลองตรวจสอบตัวท่านหรือคนใกล้เคียงว่ามีใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่าน
รู้สึกกลุ้มใจ ซึมเศร้า ทุกๆ วัน หรือทั้งวัน หรือไม่
รู้สึกเบื่อทุกๆ สิ่งหรือไม่
เบื่ออาหารหรือไม่
มีปัญหาในการนอนหลับหรือไม่
รู้สึกกระวนกระวาย (หรือซึมๆ เนือยๆ) หรือไม่
รู้สึกเพลีย เหนื่อยง่าย หรือไม่
รู้สึกผิด ไร้ค่า ไร้ความสามารถ หรือไม่
รู้สึกใจลอย ไม่มีสมาธิ หรือไม่
รู้สึกเบื่อชีวิต คิดอยากฆ่าตัวตาย หรือไม่
ถ้าท่านมีอารมณ์เศร้า เบื่อทุกๆ อย่าง นานกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการต่อไปนี้อีกอย่างน้อย 4 ข้อ ท่านอาจเป็นโรคซึมเศร้า
เบื่ออาหาร ผอมลง
นอนไม่หลับ
กระวนกระวาย หรือซึมๆ เนือยๆ
อ่อนเพลียง่าย
รู้สึกผิด ไร้ค่า
ขาดสมาธิ
คิดอยากตาย
โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยของจิตใจ ผู้ป่วยร้อยละ 70-80 รักษาได้ด้วยยาแก้ซึมเศร้า หากท่านหรือญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานของท่านมีอาการซึมเศร้า โปรดติดต่อแพทย์ของท่านหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น